Categories
ขอเรียนเชิญบุคลากรในหน่วยงานห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ขอเรียนเชิญบุคลากรในหน่วยงานห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การยกระดับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ ตามหลักการ OECD GLP วันที่ 26-27 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 061-9475050

Categories
กิจกรรม 5 ส. ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ วันที่ 11 สิงหาคม 2565 บุคลากรงานบริการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลอง ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมทำกิจกรรม 5 ส. บริเวณพื้นที่ชั้น 4 อาคารศูนย์สัตว์ทดลองฯ ในการดำเนินงานกิจกรรม 5 ส. ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการกระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการงานที่ดี เป็นการสะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย ให้กับองค์กร เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพแวดล้อมตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

Categories
พิธีทำบุญศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีทำบุญศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 1 ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทดลองที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องโดยมี รศ.น.สพ.ดร.สมบูรณ์ แสงมณีเดช รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรศ.พญ.กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ใช้สัตว์ทดลองเข้าร่วมพิธีทำบุญในครั้งนี้

Categories
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้อนรับผู้เชียวชาญด้าน Veterinary Public Health Program, The Ohio State University, USA

 (15 มิถุนายน 2565) รองศาสตราจารย์สมบูรณ์ แสงมณีเดช รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยบุคคลากรให้การต้อนรับ Professor Armando Hoet DVM, PhD, ACVPM และ Dr.Samantha Swisher DVM, DABVP, Director, Veterinary Public Health Program The Ohio State University, USA และทีมคณะผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์บัณฑิตย์ เต็งเจริญสกุล คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมอาคารศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของห้องปฏิบัติการเลี้ยงสัตว์ทดลอง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำวิจัยในสัตว์ทดลองขนาดเล็ก การเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมชมหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ทดลองในหลักสูตรคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมนี้ศูนย์สัตว์ทดลองฯ ยังได้นำเสนอโครงสร้างการบริหารงาน และภารกิจของศูนย์สัตว์ทดลองฯ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนางานด้านการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองในอนาคต

Categories
ศูนย์สัตว์ทดลอง มข. จับมือ Kumamoto University ญี่ปุ่น ถ่ายทอดเทคนิคการเจริญพันธุ์ในสัตว์ทดลองขนาดเล็ก หวังยกระดับงานวิจัยที่ต้องใช้สัตว์ทดลองสู่ระดับสากล

มื่อวันที่ 24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ Center for Animal Resources and Development (CARD), Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “CARD-NELAC Online Workshop on Mouse Reproductive Technology” ผ่านระบบ VDO Conference โดยมี รศ.น.สพ.ดร.สมบูรณ์ แสงมณีเดช รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รศ.พญ.ดร.กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบุคลากรศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งในการอบรมครั้งนี้มี Professor Toru Takeo และ Professor Seiji Okada พร้อมนักวิจัยจาก CARD, Kumamoto University เป็นวิทยากรบรรยายและดำเนินการฝึกอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Online Workshop on Mouse Reproductive Technology” มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดความรู้เทคนิคการเจริญพันธุ์ในสัตว์ทดลองขนาดเล็ก ประกอบด้วยเทคนิคผสมเทียม การเก็บรักษาตัวอ่อนในสภาวะเย็นจัด และการถ่ายฝากตัวอ่อนในหนูไมซ์

    รศ.พญ. ดร.กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการพัฒนาความรู้และเทคนิคการเก็บรักษาสายพันธุ์หนูไมซ์ในธนาคารสายพันธุ์ซึ่งจะจัดตั้งในศูนย์สัตว์ทดลองฯ ในอนาคต ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถเลือกใช้สายพันธุ์หนูทดลองที่หลากหลายและเหมาะกับงานวิจัย เป็นการยกระดับการให้บริการของศูนย์สัตว์ทดลองฯ เพื่อรองรับงานวิจัยและการบริการทางการแพทย์ที่ต้องใช้หนูไมซ์สู่ระดับสากล
การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ในหนูไมซ์ผ่านระบบออนไลน์ครั้งแรกของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ในช่วงแรกมีการวางแผนให้เป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัด ณ ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เราไม่สามารถเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาได้ จึงต้องใช้การอบรมผ่านสื่อออนไลน์ แต่เราได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย (ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตตัวอ่อนหนูเม้าส์ในหลอดแก้วและการแช่แข็งตัวอ่อนด้วยวิธี vitrification) สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ช่วยบรรยายเทคนิคพื้นฐานให้กับเรา และแนะนำ คุณณัฐชนก พวงจิตร์ มาเป็นวิทยากรดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการในประเทศไทยด้วย
รศ.พญ. ดร.กุลธิดา กล่าวต่อไปว่า “งานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการใช้สัตว์ทดลองมากขึ้นและมีความต้องการหนูทดลองที่มีสายพันธุ์หลากหลายขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับงานวิจัย การนำเข้าหนูทดลองเหล่านี้จากต่างประเทศมาใช้เพื่อทำงานวิจัย ในรูปแบบมีชีวิตจะเพิ่มต้นทุนงานวิจัยอย่างมหาศาล ฉะนั้น หากเราสามารถผสมเทียม เก็บรักษาตัวอ่อนในสภาวะเย็นจัด และการถ่ายฝากตัวอ่อนที่เรานำเข้าจากต่างประเทศได้ที่นี่ ก็จะสามารถลดต้นทุนในการวิจัยได้ และยังทำให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถเลือกใช้หนูทดลองที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์และตรงกับวัตถุประสงค์งานวิจัยของเขามากขึ้น”

ทั้งนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “CARD-NELAC Online Workshop on Mouse Reproductive Technology” ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณดำเนินการจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) e-Asia JRP และบริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายกล้องโอลิมปัสในประเทศไทย

Cr. ข่าวจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://th.kku.ac.th/92770

Categories
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรในสังกัด ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ ประเทศญี่ปุ่น
ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรในสังกัด ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ ประเทศญี่ปุ่น

Categories
คกส.มข. เข้ารับโล่ห์และเกียรติบัตรเพื่อการรับรองมาตรฐานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ระดับชาติ

รศ.กนกวรรณ จารุกำจร ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และรศ.สมบูรณ์ แสงมณีเดช ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมคณะเป็นตัวแทนคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คกส.มข.) เข้ารับโล่ห์และเกียรติบัตรเพื่อการรับรองมาตรฐานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (มคกส.) ระดับชาติ ในการประชุมวิชาการการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2562 วันที่ 28 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค

Categories
การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Genetically modified mouse in the biomedical sciences: reproductive technology and usefulness as a disease model”

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Genetically modified mouse in the biomedical sciences: reproductive technology and usefulness as a disease model” แก่คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับหนูดัดแปลงพันธุกรรมที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ชีวิการแพทย์ เทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และคุณประโยชน์ในการเป็นแบบจำลองโรค โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ Prof. Dr. Seiji Okada และ Senior Asst. Prof. Dr. Toru Takeo, Kumamoto University, Japan รศ.ดร.ศิวนนท์ จิรวัฒโนทัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ ผศ.ดร.กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับความร่วมมือจาก ผศ.ดร.กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ และศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการประสานความร่วมมือในครั้งนี้

Categories
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม เทคนิคปฏิบัติการพื้นฐานสัตว์ทดลอง ประจำปี 2562

ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม เทคนิคปฏิบัติการพื้นฐานสัตว์ทดลอง ประจำปี 2562

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดอบรม เทคนิคปฏิบัติการพื้นฐานในสัตว์ทดลอง ให้แก่ คณาจารย์ นักวิจัยและผู้ใช้สัตว์ทดลองภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถ ทักษะของผู้ใช้สัตว์ทดลองในการปฏิบัติกับสัตว์ทดลองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ โดยการฝึกอบรมดังกล่าวได้จัดเนื้อหาหลักสูตร ให้ผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ได้เรียนรู้ เทคนิคการจับบังคับควบคุมสัตว์ การให้สารโดยวิธีป้อนผ่านท่อ การให้สารโดยการฉีดเข้าทางต่างๆ ของร่างกายสัตว์ การเก็บตัวอย่างเลือด การเจาะเก็บเลือดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง การให้ยาสลบแบบฉีดและสูดดม การผ่าซากและเก็บตัวอย่างอวัยวะ โดยรศ.น.สพ.ดร. สมบูรณ์ แสงมณีเดช ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มอบหมายให้สัตวแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการกับสัตว์ทดลอง เป็นวิทยากรฝึกปฏิบัติ ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าว ศูนย์สัตว์ทดลองฯได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ ผู้ใช้สัตว์ทดลอง เพื่อให้สามารถปฏิบัติการกับสัตว์ทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่มีประโยชน์ คุ้มค่ากับชีวิตของสัตว์ทดลอง รวมทั้งได้ผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล

Categories
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้อำนวยศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ร่วมต้อนรับ Prof. Dr. Seiji Okada และ Senior Asst. Prof. Dr. Toru Takeo จากมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้อำนวยศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ร่วมต้อนรับ Prof. Dr. Seiji Okada และ Senior Asst. Prof. Dr. Toru Takeo จากมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ศาสตราจารย์มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบิดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองศาสตราจารย์สมบูรณ์ แสงมณีเดช ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยศาสตราจารย์โสพิศ วงศ์คำ และผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วม ต้อนรับ Prof. Dr. Seiji Okada และ Senior Asst. Prof. Dr. Toru Takeo จากมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสมาเยือนประเทศไทย เพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านงานวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง การเยี่ยมชมศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Genetically modified mouse in the biomedical sciences: reproductive technology and usefulness as a disease model” แก่คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับหนูดัดแปลงพันธุกรรมที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ชีวิการแพทย์ เทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และคุณประโยชน์ในการเป็นแบบจำลองโรค เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง ที่มีการใช้สัตว์ทดลองพร่องภูมิคุ้มกันในการปลูกถ่ายยีนส์หรือเซลล์ของมนุษย์ เพื่อศึกษากลไกของโรคและหาแนวทางในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น