บริการของเรา
ข่าวศูนย์สัตว์ทดลอง
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอแสดงความยินดีกับคุณวัชรพงษ์ อึ่งพวง บุคลากรศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือในโอกาสคว้ารางวัล การแข่งขันประเภทกรีฑา
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคในการเลี้ยง การผลิต และการตรวจสายพันธุ์ของหนูทดลองพร่องภูมิที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม” โดยมี Prof. Seiji Okada จาก Center for Human Retrovirus Infection and Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Visiting Professor
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอแสดงความยินดี กับ คุณบุศรา แก้วสมุทร ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยสถาบัน R2D (Routine to Development) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญ นักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ📌 “เทคนิคการเลี้ยง การผสมพันธุ์ และการตรวจสายพันธุ์ของหนูทดลองพร่องภูมิคุ้มกันที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม”
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดโครงการสัมมนาและศึกษาดูงานณ มหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อเตรียมพร้อมยกระดับสู่มาตรฐาน OECD GLP
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมการยื่นขอรับรองห้องปฏิบัติการตามหลักการ OECD GLP (หลักสูตร ระยะที่ 2)
ผู้แทนจาก National Institute of Infectious Diseases (NIID) ประเทศญี่ปุ่น
การถ่ายทอดแผนและนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการทำงานแบบมุ่งเน้นเป้าหมายด้วย OKRs
ประกาศจากศูนย์สัตว์ทดลอง
แนะนำศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปณิธานของศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง เพื่อยกระดับให้สถานที่เลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นส่วนกลางของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีศักยภาพ ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
วิสัยทัศน์ของศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นศูนย์สัตว์ทดลองชั้นนำในการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานสากล และ ศูนย์กลางการเรียนรู้ การบริการด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองสำหรับหน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พันธกิจของศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. ให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานสากล
2. สนับสนุนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่บุคลากรทั้งใน และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และให้บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง
4. สนับสนุนนักวิจัยให้มีการใช้สัตว์ทดลองได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับจรรยาบรรณการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองแห่งชาติ
5. ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากล
ประวัติและความเป็นมาของศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง เพื่องานสอน งานวิจัย งานทดสอบ และผลิตชีววัตถุของคณะและหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงานที่ต้องใช้สัตว์โดยที่ยังไม่มีสถานที่เลี้ยงและใช้สัตว์ที่ได้มาตรฐาน ประกอบกับสถานที่เลี้ยงสัตว์ทดลองกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ซึ่งยากต่อการกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานที่ดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์ในระดับมหาวิทยาลัยขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากคณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการดูแลสัตว์ เมื่อมีการรับรองจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัยเป็นระยะเวลาหนึ่ง คณะทำงานได้เห็นความจำเป็นของการมีหน่วยงานกลางเพื่อรองรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ทดลองในระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผลงานวิจัยนั้น สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนสามารถให้บริการแก่หน่วยงานอื่นที่จำเป็นในการเลี้ยงสัตว์ทดลองในระดับภูมิภาค จึงมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ขึ้น โดยเสนอให้มหาวิทยาลัยจัดสร้างอาคารเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานสากลเป็นส่วนกลางขึ้นมาใหม่ และมหาวิทยาลัยได้เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นอาคารที่มีระบบการควบคุมสภาพแวดล้อมตามมาตรฐานสากล มีวัสดุอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพเอื้อต่อการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ และมีการจัดการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างสัตว์ คน และสิ่งแวดล้อม
ศูนย์สัตว์ทดลองภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานภาพเป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอธิการบดีอยู่ภายใต้การดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินงานโดยมีเป้าหมายที่จะให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผลงานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ และงานสอน มีความถูกต้อง แม่นยำ มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสากล สามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ และเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ